เทคโนโลยีเซลล์กรีต (Cell Crete)

เซลล์กรีต เกิดจาก ระบบฟองอากาศที่มีขนาดเล็กสามารถมองด้วยตาเปล่าได้ และฟองอากาศกระจายตัวอยู่ในในมอร์ต้า  ฟองอากาศทั่วไปจะมีขนาดอนุภาคเฉลี่ยอยู่ระหว่างขนาด 100-400 ไมครอน ฟองอากาศต้องมีความแข็งแรง มีความเสถียรภาพพอ ในขณะที่ผสม ให้เข้ากัน การเทคอนกรีต และการลำเลียงด้วยปั้ม ของคอนกรีตเซลลูล่า โดยทั่วไปขั้นตอนการผลิตเซลล์กรีต แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกการเตรียมฟองอากาศ อาทิ การเติมสารละลายฟองโฟม (Foaming Agent) หรือ การผ่านเครื่องสร้างฟองโฟม (Foam Generator Controller) ลงในมอร์ต้าร์  ขั้นตอนสอง ผสมมอร์ต้า แล้วนำฟองอากาศเติมลงไปในมอร์ต้าร์แล้วผสมผสานให้เข้ากันได้ดี


การศึกษาวิจัย

งานวิจัยถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ เซลล์กรีต ถือว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่สำหรับคนไทย เนื่องจากหลักการและเทคโนโลยีของเซลล์กรีต ที่ไม่ซับซ้อน แต่การควบคุมให้ได้ตามค่ามาตรฐาน ASTM และข้อกำหนด ACI เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเนื่องจากหัวใจที่สำคํญ ฟองอากาศที่แทรกเข้าไปในเนื้อเซลล์กรีต ต้องมีความแข็งแรง ทนทานต่อสภาพ กรด-ด่าง สิ่งแวดล้อมในการผสม ในกรณีฟองอากาศมีขนาดใหญ่ ขนาดไม่สม่ำเสมอ  จะส่งผลถึงความแข็งแรงของฟองอากาศและจะส่งผลเสียมากกว่าผลดี อาทิ การยุบตัวที่สูงกว่าปกติ ได้ความหนาแน่นที่ผิดไปจากการออกแบบสัดส่วนผสม และส่งผลต่อคุณสมบัติที่ดีของเซลล์กรีต ทั้งหมด  เพราะฉนั้นการศึกษาวิจัยด้านนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญมาก จากการวิจัยของทีมงานพบว่า ขนาดฟองอากาศที่ดีควรมีขนาด 100-400 ไมครอน


มาตรฐาน

ข้อกำหนดและมาตรฐานเป็นเรื่องที่สำคัญ ต่อความเชื่อมั่นของผู้ใช้ เซลล์กรีต ในประเทศไทย ได้มีมาตรฐาน มอก.2601-2556 ออกมากำหนดอย่างชัดเจน ส่งผลผู้ที่จะทำผลิตภัณฑ์ต้องมีค่าทดสอบ และมาตรฐานการทดสอบ เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ อย่างเคร่งครัด ส่วนมาตรฐานที่ทีมงานต้องศึกษาเพิ่มเติมจากต่างประเทศ อาทิ ASTM BS เป็นต้น และข้อกำหนด ACI ถือว่าเป็นสิ่งใหม่กับคนไทยเนื่องจากเซลล์กรีต  มี ASTM, ACI ที่เกี่ยวข้อง ทีมงานต้องศึกษาเปรียบเทียบมาตรฐานดังกล่าวกับผลทดสอบ และวิเคราะห์ผลสรุป  ออกมาเพื่อจะนำข้อมูลดังกล่าวมากำหนดในรายการคำนวณการออกแบบสัดส่วนผสม (Mix Design) เพื่อกำหนดเป็นแนวทางในการผสมอย่างชัดเจน


 

ผลงานและรางวัลที่ได้รับ

รายชื่อบทความวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่

  • อนุสิทธิบัตร เลขที่ 14175 เครื่องผสมคอนกรีตเซลลูล่าแบบมอเตอร์แนวนอน
  • อนุสิทธิบัตร เลขที่ 15307 เครื่องสร้างฟองโฟมแบบควบคุมเวลา
  • อนุสิทธิบัตร เลขยื่นคำขอ ที่ 1803000350 ชุดแท่นตัดคอนกรีตมวลเบาแบบสลิงชุด
  • อนุสิทธิบัตร เลขยื่นคำขอ ที่ 1603001086 เครื่องผสมคอนกรีตแบบใบกวนแนวนอน
  • อนุสิทธิบัตร เลขยื่นคำขอ ที่ 1603001087 เครื่องกำเนิดฟองอากาศชนิดปั้มแรงดัน
  • ความลับทางการค้า เลขที่ ศธ 5614(12)/197 (น้ำยาสร้างฟองโฟม+โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับออกแบบ Mix Design)
  • อภัย  ชาภิรมย์ , ธีรวัฒน์  สินศิริ (2557). การศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพของผนังหล่อในที่คอนกรีตมวลเบาเซลลูล่า.  การประชุมวิชาการคอนกรีตประจำปี ครั้งที่ 10. 20 – 22 ตุลาคม 2557  โรงแรมดุสิต โฮมแลนด์ รีสอร์ท  จังหวัดเชียงราย. Download Paper
  • อภัย  ชาภิรมย์ , ธีรวัฒน์  สินศิริ (2560). การศึกษาผลกระทบอัตราการหมุนของใบกวนเครื่องผสมมวลเบาเซลลูล่า.  การประชุมวิชาการคอนกรีตประจำปี ครั้งที่ 12. 15 – 17 กุมภาพันธ์ 2560  โรงแรมเดอะ รีเจ้นท์ ชะอำบีช จังหวัดเพชรบุรี. Download Paper
  • Chapirom, Sinsiri  (2019). EFFECT OF SPEED ROTATION ON THE COMPRESSIVE STRENGTH OF HORIZONTAL MIXER FOR CELLULAR LIGHTWEIGHT CONCRETE. Suranaree Journal of Science and Technology (SJST). Download Paper
  • อภัย  ชาภิรมย์ , ธีรวัฒน์  สินศิริ (2562). การพัฒนากำลังคอนกรีตเซลลูล่าด้วยเถ้าถ่านหินและเส้นใยสังเคราะห์ . ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี . Download Paper
  • อภัย  ชาภิรมย์ , ธีรวัฒน์  สินศิริ (2557). การศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพของผนังหล่อในที่คอนกรีตมวลเบาเซลลูล่า. ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี . Download Paper
  • อภัย  ชาภิรมย์  (2555).การศึกษาคุณสมบัติของผนัง SSP โดยใช้คอนกรีตมวลเบาเป็นวัสดุแกน . หอสมุดและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล . Download Paper
  • อภัย ชาภิรมย์ (2561) .เทคโนโลยีและนวัตกรรม ด้านวิศวกรรมโยธา 2017-2018 . สาขาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี .  Download Paper

รายชื่อรางวัลที่ได้รับและทุนวิจัยที่ผ่านมา

  • รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2562 ผลงานเรื่อง ชุดผลิตคอนกรีตเซลลูล่าเพื่อ   เศรษฐกิจชุมชนจาก สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
  • รางวัลกิตติกรรมประกาศผู้นำความรู้ทางวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี สู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์อย่างเป็นรูปธรรม ประจำปี 2561 ในงานมหกรรม Thailand Tech Show 2018 ณ.ศูนย์ประชุมแสดงสินค้าไบเทค บางนา จาก สำนักงานพัฒนาวิทยาศาตร์และ เทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี
  • รับทุนวิจัยโครงการ การศึกษาศักยภาพด้านการตลาดชุดผลิตคอนกรีตเซลลูล่าเพื่อเศรษฐกิจชุมชน ประจำปี 2561 งบประมาณ 400,000 บาท ชุดโครงการผลักดันงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ (RUC) จาก สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
  • รับทุนโครงการสร้างผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่ (Startup Voucher) ประจำปี 2561 งบประมาณ 900,000 บาท จาก สำนักงานพัฒนาวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
  • รับคัดเลือกให้เข้าโครงการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมเกิดใหม่ที่มีการเติบโตสูง (Innovative Startup) ประจำปี 2560  งบประมาณ 1,655,775 บาท จาก สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สป.วท.)
  • รับทุนการศึกษาดับปริญญาเอก จาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ประจำปี 2559 โครงการพัฒนานักวิจัยและงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม (พวอ.) สัญญาเลขที่ PHD59I0064

เอกสารการบรรยายและบทความที่ผ่านมา

  • การออกแบบโครงสร้างโกดังสินค้า โครงสร้าง PEB ด้วย SAP2000  บรรยายให้วิศวกรและผู้สนใจทั่วไป ณ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี  Download Paper
  • นวัตกรรมเซลล์กรีต (Cell Crete)  บรรยายให้วิศวกรและผู้สนใจทั่วไป ณ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี  Download Paper
  • บทความเรื่อง 4 ยมทูต ค่าตัวแปรที่สำคัญสำหรับการออกแบบคานคอนกรีตเสริมเหล็ก  โดยวิธี WSD และ SDM   Download Paper
  • ตัวอย่างผลงานการขอเลื่อนระดับเป็นสามัญวิศวกร ประเภทผลงานด้านออกแบบโครงสร้าง ทั้ง 3 ผลงาน ของ วศ.ดร.อภัย ชาภิรมย์ สามัญวิศวกรโยธา   Download Paper